Orange Rainbow Over Clouds

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 5 พฤษภาคม 2558

ครั้งที่ 15


สรุปการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


               ในการเรียนวิชานี้ทำให้ดิฉันได้เรียนรู้อะไรหลายๆ อย่าง ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งก่อนเรียนวิชานี้ ดิฉันคิดว่า การสอนคณิตศาสตร์ ทำแค่เพียง สอนเลข 1-10 แต่ความจริงนั้น ไม่ใช่เลย การสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก มันเป็นเรื่องที่ลึกซึ้งกว่านั้น และการสอนคณิตศาสตร์สามารถสอนได้ทุกที่ เนื่องจากคณิตศาสตร์ ล้วนอยู่รอบ ๆ ตัวเราทั้งสิ้น ดังเช่น
  • การสอนคณิตศาสตร์ในชีวิตประจำวัน  เราสามารถทรอดแทรกไปในการเรียนการสอนได้ คือ ดินสอสีแดง มีกี่แท่ง เป็นต้น
  • การสอนคณิตศาสตร์ผ่านเพลง ต่าง ๆ เช่น
        1  2  3  4  5     จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
                6  7  8  9  10       ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
              กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว     ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ
 
                นอกจากนี้ ดิฉันยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนมายแม็ปที่ดีและถูกต้อง การทำบล็อค และได้เรียนรู้เพลง ต่าง ๆ มากขึ้นอีกด้วย
  
 

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 1 พฤษภาคม 2558

ครั้งที่ 14

เนื้อหาที่เรียน

นำเสนอนิทาน เพลง คำคล้องจอง

  • กลุ่มสาระที่ 5
  • กลุ่มสาระที่ 6

 

ทบทวนความรู้ตลอด 1 เทอม ดังนี้

การบูรณาการคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยกับวิชาอื่น ๆ เช่น
  • ภาษา,สุขศึกษา,สังคมศึกษา,ดนตรี,ศิลปะ,วิทยาศาสตร์ เป็นต้น
  • พัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
  • การบูรณาการกับ 6 กิจกรรมหลัก 1.กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ 2.กิจกรรมเสริมประสบการณ์    3.กิจกรรมเสรี 4.กิจกรรมกลางแจ้ง 5.กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ 6.เกมการศึกษา
กิจกรรมผู้ปกครองมีส่วนร่วมกิจกรรมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างไรบ้าง
  • นับจำนวนการจ่ายตังค์ในตลาดร่วมกับผู้ปกครอง
  • นั่งรถไปเที่ยวให้บวกเลขป้ายทะเบียน/อ่านเลขป้ายทะเบียน
  • การทำอาหารความยาว-ความสั้นของการเด็ดผัก
  • การนับชิ้นสิ่งของร่วมกับผู้ปกครองที่บ้าน การให้เด็กมีส่วนร่วมในการจัดโต๊ะรับประทานอาหารโดยให้เด็กหยิบจาน,ช้อน,แก้ว ตามจำนวนคนในบ้าน (ให้หยิบของใช้มาเป็นชุด)
เกมการศึกษา คือ ??
  • กิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น มีกระบวนการในการเล่นจากสื่อตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน
ประเภทเกมการศึกษา
  • เกมจับคู่ เช่น  จับคู่รูปร่างที่เหมือนกัน  จับคู่ภาพกับเงา
  • เกมจัดหมวดหมู่   ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆ   ภาพเกี่ยวกับประเภทของใช้ในชีวิตประจำวัน
  •  เกมจัดหมวดหมู่ตามรูปร่าง สี ขนาด รูปทรงเรขาคณิต
  •  เกมวางภาพต่อปลาย (Domino) โดมิโนภาพเหมือน โดมิโนสัมพันธ์
  •  เกมเรียงลำดับ  เรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่อเนื่อง  เรียงลำดับขนาด
  • เกมศึกษารายละเอียดของภาพ (Lotto)
  •   เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (Matrix)
  •  เกมพื้นฐานการบวก

วิธีการสอน

  • ให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ
  • เปิดโอกาสให้นักศึกษาตอบคำถาม

ทักษะที่ได้รับ

  • ได้ทักษะการตอบคำถาม คิดวิเคราะห์
  • ได้ทักษะการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน

การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้ที่เรียนมา ไปจัดประสบการณ์การเรียนการสอนให้แก่เด็กปฐมวัยได้อย่างถูกต้อง

บรรยากาศในการเรียน

  • เพื่อนๆ มีความตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม
  • แอร์หนาวเกินไป

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา
  • มีการสอนที่หลากหลาย ให้นักศึกษาตอบคำถามต่าง ๆ

วันเสาร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 27 เมษายน 2558

ครั้งที่ 13

เนื้อหาที่เรียน

  • วันนี้ครูให้ทำแบบประเมิน การเรียนการสอนที่เรียนมาทั้งหมด เป็นการทบทวนความรู้ที่ได้เรียนมาตลอด 1 เทอม

วิธีการสอน

  • อาจารย์แจกใบคำถาม เพื่อนให้นักศึกษาตอบ ทบทวนความรู้ที่เรียนมา แล้ว ไปเอาชีทใบความรู้มาอ่านทบทวน

ทักษะที่ได้รับ

  • ได้ทบทวนความรู้เดิม บางเรื่องก็ได้ลืมไปแล้ว แต่พอได้ตอบคำถาม มันก็ทำให้เราต้องหาคำตอบ

การนำไปประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้ที่เรียนมา ไปใช้ในภายภาคหน้า และจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม

บรรยากาศในการเรียน

  • อาจารย์ให้นักศึกษาแยกย้ายกันไปทำงานที่ได้รับมอบหมาย เพื่อนๆ กระจัดกระจายกันไปทำ ในห้องสมุด ศูนย์ครู เป็นต้น

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี โดยให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดเพื่อทบทวนความรู้ที่เรียนมา

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 23 เมษายน 2558

ครั้งที่ 12

เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ


สอบสอน

  • สอบสอนเรื่องผีเสื้อ จากที่สัปดาห์ที่แล้ว อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มเขียนแผนการสอน
  • สอบสอนเป็นกลุ่ม กลุ่มล่ะ 5 คน ให้นักศึกษาเตรียมอุปกรณ์การสอน สื่อต่าง ๆ มา โดยกลุ่มดิฉัน สอนเรื่อง ผีเสื้อ จะมี ผีเสื้อแดง และ ผีเสื้อลาย
  • ได้มีการเขียน มายแมป เชื่อมโยงความรู้ที่จะสอน แล้วต่อด้วยกระบวนการสอนต่อไป

เทคนิคที่อาจารย์แนะนำ

  • การนำสื่อมาสอนเด็ก ต้องเป็นของจริงถึงจะดี
  • สื่อต้องแข็งแรง คงทน
  • การสอนเด็กไม่ควรนั่งบังกระดาน ต้องนั่งให้เสมอกับเด็ก

วิธีการสอน

  • อาจารย์ให้เด็กลงมือปฎิบัติจริง เขียนแผนเอง แล้ว สอนเอง เตรียมสื่อมาเอง

ทักษะที่ได้รับ

  • ได้ทักษะการเขียนมายแมป
  • ได้ทักษะการสอน การใช้คำพูด และการนั่ง
  • ได้รู้ถึงเทคนิคการสอนต่างๆ ให้เด็กสนใจ

การนำไปประยุกต์ใช้

  • เราสามารถนำการเรียนการสอน หรือเทคนิคต่าง ๆ ไปใช้ในการสอนกับเด็กจริงๆ ได้ เพื่อเป็นแนวทางในการสอนในอนาคต

บรรยากาศในการเรียน

  • วันนี้สถานที่ไม่เอื้ออำนวย นั่งเรียนไม่ค่อยสะดวก

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี เนื่องจาก ไม่มีห้องสอน แต่อาจารย์ก็หาสถานที่ให้นักศึกษาได้เรียน

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 8 เมษายน 2558

ครั้งที่ 11

เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ

นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์

  • เลขที่ 9 กิจกรรมศิลปะที่ส่งเสริมทักษะทางคณิตศาตร์
  • เลขที่ 10 การจัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์

ขั้นตอนการออกแบบกิจกรรม
  • ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
  • วิเคราะห์เนื้อหา
  • ศึกษาประสบการณ์จริง
  • บูรณาการคณิตศาสตร์
  • ออกแบบกิจกรรม
สาระที่ควรเรียนรู้
  • ศึกษาสาระที่ควรเรียนรู้
  • วิเคราะห์เนื้อหา
  • ศึกษาประสบการณ์จริง
  • บูรณาการคณิตศาสตร์
  • ออกแบบกิจกรรม
หลักในการเลือกหัวข้อเรื่อง
  • เรื่องใกล้ตัว
  • เรื่องที่มีผลกระทบต่อตัวเด็ก
ประสบการณ์สำคัญ
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านร่างกาย
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ จิตใจ
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคม
  • ประสบการณ์สำคัญที่ส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญา
แบ่งกลุ่มทำ Mind Mapping
  • แบ่งกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มสัตว์ 2 กลุ่ม และ กลุ่มผลไม้ 2 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาดังนี้ 1.ชนิด 2.ลักษณะ 3.การดูแลรักษา 4.ข้อควรระวัง 5.ประโยชน์
เขียนแผนการสอนตามเรื่องผีเสื้อ
 
วิธีการสอน
  • ให้เด็กได้ลงมือทำโดยการปฏิบัติจริง
  • มีวิธีการสอนที่หลากหลาย
  • มีการทำกิจกรรมตัวอย่างก่อนเรียน
  • เปิดโอกาศให้นักศึกษา ได้ตอบคำถาม
ทักษะที่ได้รับ
  • ได้รับทักษะการเขียนแผนและการทำ My Mapping
  • ทักษะในการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะในการทำงานเป็นกลุ่ม
การนำไปประยุกต์ใช้
  • สามารถนำทักษะในการเขียนแผนไปใช้เขียนแผนได้ อีกทั้งยังสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการสอนให้มีความสนุกสนานมากขึ้น
บรรยากาศในห้องเรียน
  • เพื่อนๆ มาเรียนน้อยเนื่องจากฝนตก
  • โต๊ะและเก้าอี้ไม่เพียงพอต่อนักศึกษา
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย
  • พูดฉะฉาน เสียงดังฟังชัด

 
 
 

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 25 มีนาคม 2558

ครั้งที่ 10
 
เนื้อหาที่เรียน
 
 
กิจกรรมต่อไม้เป็นรูปต่าง ๆ

 
  •  แบ่งกลุ่ม 3 คน

ทำกิจกรรมไม้กับดินน้ำมัน ให้ต่อไม้แล้วนำดินน้ำมันมาเชื่อมให้เป็นรูปทรงต่างๆเช่น

  • รูปสามเหลี่ยม
  • รูปสี่เหลี่ยม
  • รูปอะไรก็ได้
  • รูปทรงสามเหลี่ยม
  • รูปทรงสี่เหลี่ยม
  • รูปอะไรก็ได้

เก็บตกการนำเสนอ

  • เลขที่ 2  บทความ เรื่อง คณคิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เลขที่ 25 เรื่อง การเรียนรรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • เลขที่ 26 การสอนคณิตศาสตร์ด้วยนิทาน

นำเสนอนิทาน คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย ตามสาระคณิตศาสตร์ที่ได้

นำเสนอรูปแบบการสอน

  • รูปแบบการสอนแบบมอนเตสซอรี่
  • รูปแบบการสอนแบบสตอรี่ไลน์
  • รูปแบบการสอนแบบ BBL
  • รูปแบบการสอนแบบ STEM

วิธีการสอน

  • มีกิจกรรมตัวอย่างทำก่อนเรียน
  • มีกิจกรรมทรอดแทรกและน่าสนใจ

ทักษะที่ได้รับ

  • ได้ทักษะในการตอบคำถาม
  • ได้ทักษะกระบวนการคิดและจินตนาการ

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำการเรียนการสอน หรือรูปแบบการสอนต่างๆ ไปสอนเด็กในภายภาคหน้าได้

บรรยากาศในการสอน

  • อากาศภายในห้องเย็นเกินไป

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์แต่งกายเรียบร้อยพูดเสียงดังฟังชัด
  • มีการนำกิจกรรมต่างๆ มาทรอดแทรกให้เข้ากับเนื้อหา

 


 

 

 

  

 

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 18 มีนาคม 2558 (ไม่ได้เข้าเรียน)

ครั้งที่ 9
เนื้อหาที่เรียน

นำเสนอวิจัย

  • เลขที่ 22


นำเสนอบทความ

  • เลขที่ 1 นำเสนอบทความเรื่อง " เทคนิคการสอนเลขอนุบาล"
  • เลขที่ 3 นำเสนอบทความเรื่อง " เสริมการเรียนเลขให้วัยอนุบาล "

นำเสนอกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • เลขที่ 3 กิจกรรม กระดุมหลากสี
  • เลขที่ 25 กิจกรรม แสนสนุก
  • เลขที่ 26 กิจกรรม อนุรักษ์เชิงปริมาณ


** หมายเหตุ** อาจารย์มอบหมายงานให้ทำ คือ ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3 คน แต่งนิทานคณิตศาสตร์ คำคล้องจอง ปริศนาคำทาย จากสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย



วิธีการสอน

  • ให้นำเสนอวิจัย บทความ และกิจกรรมที่ส่งเสริมคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เสริมความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่นำเสนอ
  • ประยุกต์กิจกรรมสำหรับเด็กปฐมวัย

ทักษะที่ได้รับ

  • ทักษะในการคิดวิเคราะห์
  • ทักษะในการพูดนำเสนองาน
  • ทักษะในการตอบคำถาม

การนำไปประยุกต์ใช้

  • นำไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้กับเด็กปฐมวัย และเลือกกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและความรู้ด้านคณิตศาสตร์ให้เเก่เด็กปฐมวัย

บรรยากาศในห้องเรียน
  • มีแสงสว่างมากพอ โต๊ะเก้าอี้จัดเป็นระเบียบเรียบร้อย พื้นห้องสะอาด วัสดุอุปกรณ์ในการเรียนการสอนครบถ้วน บรรยากาศในห้องค่อนข้างเงียบ และอากาศในห้องเรียนค่อนข้างเย็น
ประเมินอาจารย์
  • มีเทคนิคการสอนที่ดี พูดเสริมแรงให้นักศึกษาเกิดความรู้และเกิดทักษะใหม่ๆ

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 11 มีนาคม 2558

ครั้งที่ 8
เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ


เพื่อนนำเสนอบทความ

  • เลขทึ่ 21 การสอนคณิตศาสตร์จากชีวิตรอบตัว

ทบทวนความรู้สาระและมาตรฐานในการเรียนรู้

  • สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
  • สาระที่ 2 การวัด
  • สาระที่ 3 เรขาคณิต
  • สาระที่ 4 พีชคณิต
  • สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
  • สาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

นำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์แบบโครงการ

  • จุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาความรู้
  • ความสำคัญ
  • วิธีการจัดการเรียนการสอน จะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ
         1.วางแผนและเริ่มโครงการ
         2.พัฒนาโครงการ
         3.สรุปและอภิปรายโครงการ
  • ลักษณะรูปแบบการสอนโครงการ
         1.อภิปราย
         2.นำเสนอประสบการณ์เดิม
         3.การทำงานภาคสนาม
         4.การสืบค้น และตั้งคำถาม
         5.การจัดแสดงนิทรรศการ

ฝึกร้องเพลง และแปลงเนื้อเพลง


เพลงบวก-ลบ

บ้านฉันมีแก้วน้ำสี่ใบ   ครูให้อีกสามใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้เจ็ดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำเจ็ดใบ  หายไปสามใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สี่ใบ


แปลงเนื้อเพลง

บ้านฉันมีแก้วน้ำสามใบ  พี่ให้อีกห้าใบนะเธอ
มารวมกันนับดีดีซิเออ  ดูซิเธอรวมกันได้แปดใบ
บ้านฉันมีแก้วน้ำแปดใบ  หายไปห้าใบนะเธอ
ฉันหาแก้วแล้วไม่เจอ  ดูซิเออเหลือเพียงแค่สามใบ


เพลงเท่ากัน-ไม่เท่ากัน

ช้างมีสี่ขา  ม้ามีสี่ขา
คนเรานัั้นหนา  สองขา ต่างกัน
ช้างม้ามี  สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับคนนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)


แปลงเนื้อเพลง

ความยมีสี่ขา  กวางมีสี่ขา
เจ้านกนัั้นหนา  สองขา ต่างกัน
ความกวางมี  สี่ขาเท่ากัน (ซ้ำ)
แต่กับนกนั้น  ไม่เท่ากันเอย (ซ้ำ)


เพลงขวดห้าใบ

ขวดห้าใบวางอยู่บนกำแพง (ซ้ำ)
เราเอาหินปาไปให้มันกลิ้งตกลงมา
คงเหลือขวด.....ใบวางอยู่บนกำแพง
(ลดจำนวนขวดลงไปตามลำดับ จนกระทั่งเหลือขวด 1 ใบ)
ไม่มีขวดเหลือเลยวางอยู่บนกำแพง


เพลงจับปู

1  2  3  4  5     จับปูม้ามาได้หนึ่งตัว
6  7  8  9  10      ปูมันหนีบฉันต้องส่ายหัว
กลัว ฉันกลัว ฉันกลัว     ปูหนีบฉันที่หัวแม่มือ




วิธีการสอน

  • ทบทวนความรู้เดิม
  • มีการทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน

ทักษะที่ได้รับ

  • ได้ทักษะการร้องเพลง แปลงเพลง ได้รู้เพลงใหม่ๆ มากขึ้น
  • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้จากการแปลงเพลงไปใช้ในการสอน ให้เหมาะกับเนื้อหาที่เด็กเรียน

บรรยากาศในห้องเรียน


  • เพื่อนๆ ไม่มีความพร้อมในการเรียน
  • อุปกรณ์ สื่อคอมพิวเตอร์ไม่ค่อยดี
  • แอร์หนาวเย็น

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มีเทคนิคการสอนหลากหลาย
  • เข้าสอนตรงเวลา





วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558

ครั้งที่ 7

 

เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ

 

ทำกิจกรรมการมาเรียนของนักเรียน

  •  กิจกรรมเขียนชื่อบนกระดาน เรื่อง การมาเรียน ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้ คือ เด็กสามารถเรียนเรื่อง ลำดับก่อน หลัง เรื่อง เวลา และ ภาษาอีกด้วย

ทบทวนเพลงเก่า ๆ ที่เคยร้อง

 

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบบรูณาการ
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบโครงการ
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบSTEM
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสเซอรี่
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง

เพื่อน ๆ นำเสนอโทรทัศน์ครู

  • เลขที่ 17 ครูนิตยากับการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ลูกเต๋า

รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ

  • หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถโดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ความสำคัญ

  • การจัดประสบการณ์แบบบรูณาการจะช่วยให้สามาดนำความรู้ ทักษะจากหลาย ๆ ศาสตร์มาแก้ไขปัญหาได้กับชีวิตประจำวัน
  • การจัดประสบการณ์แบบบรูณาการเกิความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันทำให้เกิดถ่ายโอนประสบการณ์ของศาสตร์ต่า ๆ เข้าด้วยกัน
  • ช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ 
  • จะช่วยตอบสนองต่อความสามาถในหลย ๆ ด้านของผู้เรียน จะช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติแบบพหุปัญญา
  • สอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียนที่กำลับเผยแพร่ในปัจจุบัน

การนำไปใช้ ควรคำนึงถึง....

  • เด็ก ต้องการ อยาก รู้อะไร
  • เด็ก ต้องการ อยาก ทำอะไร

สาระที่ควรเรียน

  • ตัวเด็ก
  • บุคคลและสถานที่
  • ธรรมชาติรอบตัว
  • สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก

 

ทำ My Map เกี่ยวกับตัวเด็ก,บุคคลและสถานที่,ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก


วิธีการสอน

  • อาจารย์มีการทบทวนความรู้เดิม และทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่เรียนไปในสัปดาห์ที่แล้ว
  • ใช้เทคโนโลยีในการช่วยสอน
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยกันระดมความคิด และ การตอบคำถาม

ทักษะที่ได้

  • ได้ทักษะการเขียน My Map
  • ได้ทักษะกระบวนการคิด
  • ได้รับประสบการณ์จริงจากการได้ทำกิจกรรม

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้ของการสอนแบบบูรณาการ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ และเหมาะสมตามวัย เพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของเด็ก

บรรยากาศในการเรียน

  • แอร์ค่อยข้างเย็น
  • ห้องสะอาด

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมที่ดีมากในการสอน ทั้งสื่อ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
  • อาจารย์ผู้เสียงดัง ฟังชัด
  • มีการทบทวนความรู้เดิมของเด็ก

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558

ครั้งที่ 5
เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ

ทำกิจกรรมที่จะไปเที่ยวในวันวาเลนไทน์

  • ให้นักศึกษาคิดสถานที่ ที่อยากไปในวันวาเลนไทน์ มา 3 สถานที่ ได้แก่ เกาหลี ทะเล ดรีมเวิลล์ ซึ่งกิจกรรมนี้ จะช่วยให้เด็กรู้จัก การนับจำนวน เป็นกิจกรรมที่ประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

ทดสอบก่อนเรียน มีคำถามดังนี้

  • เทคนิคการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ มีอะไร และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง

เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

  • นิทาน
  • เพลง
  • เกม
  • คำคล้องจอง
  • ปริศนาคำทาย
  • บทบาทสมมุติ
  • แผนภูมิ
  • การประกอบอาหาร

เพื่อน ๆ ทำเสนอ วิจัย

  • เลขที่ 13 เรื่อง การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กปฐมวัย
  • เลขที่ 14 เรื่อง การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการละเล่นพื้นบ้าน

เพลง นับนิ้วมือ


นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายก็มีห้านิ้ว มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ 1 2 3 4 5 นับต่อมา 6 7 8 9 10
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ นับ 1 ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ

เพลง หนึ่ง - สอง - สาม


1 2 3 เป็นยามปลอด     4 5 6 ลอดรั้งออกไป
7 8 9 แดดแจ่มใส     10 11 ไวไววิ่งไล่กัน
12 13 รีบย่องกลับ 14 15 หลับแล้วฝัน
16 17 ตกเตียงพลัน     18 19 20 นั้นฉันหัวโน

แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม

  • แบ่งกลุ่มช่วยกันตัดกระดาษรูปสี่เหลี่ยม 3 สี สีล่ะ 10 อัน
  • อาจารย์ให้นักศึกษา นำกระดาษที่ตัด มาต่อให้เกิดรูปทรง ตั้งแต่ กระดาษสี่เหลี่ยม 1 แผ่น จนถึง 5 แผ่น

วิธีการสอน

  • อาจารย์มีการสอนที่นำเทศกาลที่ใกล้จะถึง คือ วันวาเลนไทน์ มาประยุกต์ในการสอน เรื่อง การนับจำนวน
  • มีการทำแบบทดสอบเพื่อทราบถึงความรู้เดิม
  • มีการทบทวนความรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
  • เปิดโอกาสให้เด็กถาม และตอบ

ทักษะที่ได้

  • ได้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม 
  • ทักษะด้านการตอบคำถาม คิดวิเคราะห์

การะประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้ที่เรียนมา ไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ให้เด็กได้อย่างเหมาะสม กับตัวเด็ก และมีวิธีแปลใหม่ มาสอนเด็กๆ

บรรยากาศในการเรียน

  • อากาศในห้อง หนาว แอร์เปิดเย็นเกินไป
  • เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์สามารถนำกิจกรรมต่าง ๆ มาประยุกต์ให้เหมาะกับการเรียนการสอน แต่งกายเรียบร้อย มาสอนตรงเวลา พูดเสียงดังฟังชัด

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558

ครั้งที่ 5
เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ
มีการทดสอบก่อนเรียน มีคำถามดังนี้

  • มาตราฐานคืออะไรและมีประโยน์อย่างไร
  • สาระและมาตราฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
  • สาระและมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนทำได้อย่างไรบ้าง

เพื่อน ๆ นำเสนอ บทความ

  • เลขที่ 10 บทความเรื่อง Mathematic ของวัยซน

เพลง จัดแถว


สองมือเราชูตรง แล้วเอาลมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง


เพลง ซ้ายขวา


ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้าย(ขวา)อยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ



เพลง นกกระจิบ


นั่นนก บินมาลิบลิบ นกกระจิบ 1 2 3 4 5 
อีกฝูงบินล่องรอยมา 6 7 8 9 10 ตัว

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย


          เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ ให้เด็กเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ เพื่อนเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาต่อไป

สาระและมาตรฐานการเรียน

          สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
          สาระที่ 2 : การวัด
          สาระที่ 3 : เรขาคณิต
          สาระที่ 4 : พีชคณิต
          สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
          สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

  • มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ เช่น นับจำนวน 1 - 20
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว ปริมาตร น้ำหนัก เงิน และ เวลา
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
  • มีความรู้ความเข้าใจเรื่องรูปทรง ขนาด สี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
  • มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สู้การปฏิบัติในชั้นเรียน


          สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
               มาตราฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนใน  ชีวิตจริง

          สาระที่ 2 : การวัด  
     มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

          สาระ 3 : เรขาคณิต
              มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง

              มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ




          สาระที่ 4 : พีชคณิต
              มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์


          สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
              มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสิ่งแวดล้อมที่จะนำเสนอการเก็บข้อมูล

          สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

               มาตราฐาน ค.ป. 6.1 การแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล การส่อสาร การเคลื่อนไหว ความรู้ต่าง ๆ ทางคณิคศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์อื่น ๆ ได้



วิธีการสอน

  • อาจารย์ให้ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน เพื่อทราบถึงความรู้เดิม
  • ใช้เทคโนโลยีในการช่วยสอน โปรแกรม Power Point
  • มีการถาม ตอบ

ทักษะที่ได้

  • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์ ในการตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัย ให้สอดคล้องกับสาระ และ มาตรฐานการเรียนรู้

บรรยากาศในการเรียน

  • อากาศค่อนข้างเย็น
  • เทคโนโลยีทันสมัย ไม่ขัดข้อง
  • เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มาสอนตรงเวลา พูดเสียงดังฟังชัด สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้นักศึกษาได้


วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู

เรื่อง การสอนแทนค่า
ครู  Place Value

          เนื่องจาก นักเรียนมีปัญหาในการนับเลข รร.สปริงฟิลด์ ที่เมือง เจอร์ซี จึงมีการทดลองใช้วิธีการสอนแบบใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ครูกำหนดให้ 2000 เป็นเลขสองตามด้วยพัน นักเรียนเพิ่มเติมเทคนิคนี้เข้าไปใน เรื่องของเลขคณิต พวกเขาทำอย่างเดียวกันกับเลขหลักร้อย ไปถึง หลักสิบ โดยใช้คำว่า ty ในการนับเลขหลักสิบ มีการปรับคำบ้างเพื่อไม่ให้บดบังระบบของตัวเลขยี่สิบเอ็ก คือ two-ty-one (21 มี 2 กับ 1 ) ครูมีการแนะนำให้เด็กรู้จักตัวเลขที่มากขึ้น โดยใช้บัตรภาพ 


บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 28 มกราคม 2558

ครั้งที่ 4

เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ

มีการทดสอบก่อนเรียน และมีการตั้งคำถามดังนี้

  • ทฤษฏีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
  • จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพื่อน ๆ นำเสนอโทรทัศน์ เลขที่ 7-9

  • เลขที่ 7 เรื่อง ของเล่นและของใช้
  • เลขที่ 8 ผลไม้แสนสนุก
  • เลขที่ 9 บูรณาการสู่ความพร้อมในการเรียนรู้

เด็กปฐมวัยกับการสอน

  • กิจกรรมต่างๆผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • ลงมือกระทำ
  • เล่นโดยผ่านประสาทสัมผัส
  • ใช้สื่อจริง (รูปธรรม) ทำให้น่าสนใจ

จุดมุ่งหมายการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
  • รู้จักกระบวนการหาคำตอบ
  • ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
  • ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  •  การสังเกต  ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อหาคำตอบ
  • การจำแนก  ใช้เกณฑ์ ความเหมือน ความต่าง
  • การเปรียบเทียบ  หาความแตกต่างระหว่างของ 2 สิ่ง
  • การจัดลำดับ  เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
  • การวัด  การวัดสิ่งของต่าง ๆ
  • การนับ  นับสิ่งของต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่เด็กจะใช้การท่องจำ แต่ไม่รู้ความหมาย
  • รูปทรงและขนาด  เด็กจะรู้สิ่งเหล่านี้ก่อนที่จะเข้าโรงเรียน เพราะ เห็นได้ตามการใช้ชีวิตประจำวัน

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • การสังเกต
  • การนับ
  • การแยกประเภท
  • การจัดลำดับ
  • การวัด
  • รูปทรงและขนาด
  • การเปรียบเทียบ

เพลง เข้าแถว


เข้าแถว เข้าแถว
อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว

เพลง สวัสดียามเช้า


ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า
อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว
หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน

สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ

ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน

หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า


เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน


หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน
อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น

หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน

หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน

อาทิตย์ จันทร์ อังคาร์ พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์


หลั่นลัน หลั่นล้า

วิธีการสอน

  • อาจารย์ทบทวนความรู้เดิมของนักศึกษา มีการถามตอบ มีการใช้เทคโนโลยีในการช่วยสอน อีกทั้ง วันนี้ มีเพื่อนมา เซอร์ไพร์วันเกิด อาจารย์ก็สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นการเรียนการสอนได้

ทักษะที่ได้

  • ได้ในเรื่องการคิด การตอบคำถาม เพื่อตอบคำถามให้ถูกต้อง
  • ได้ทักษะทางสังคม ในการช่วยกันคิดคำตอบกับเพื่อน

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัย โดย เด็กจะเรียนรู้โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5

บรรยากาศในการเรียน

  • เพื่อน ๆ มีความตั้งใจเรียน สนุกสนานกับการเรียนการสอน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มาสอนตรงเวลา พูดเสียงดังฟังชัด มีการยกตัวอย่างให้ชัดเจน 

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 21 มกราคม 2558

ครั้งที่ 3

เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ   

มีการทดสอบก่อนเรียน โดยมีคำถามดังต่อไปนี้
  • ทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เคยเรียนมา
  • ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
  • พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
  • พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร
  • การเรียนรรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
  • เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร

เพื่อนนำวิจัยมานำเสนอ เลขที่ 4-6

  • เลขที่ 4 เรื่อง การสร้างชุดทักษะสำหรับเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เลขที่ 5 เรื่อง การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • เลขที่ 6 การส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์โดยผ่านการเล่น



อาจารย์สอนวิธีการมานำเสนอหน้าชั้นเรีย 
  • การแนะนำตัว ต้องเสียงดัง ฟังชัด
  • พูดชัดถ้อย ชัดคำ
  • วิธีการนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรีย
  • สรุปวิจัยมาให้ดี/กระชับ 
  • ต้องมี ความสำคัญ,ขอบเขตการวิจัย,การดำเนินการ,เครื่องมือที่ใช้,คำศัพท์เฉพาะ,วัตถุประสงค์,สรุปผลการวิจัย



หลักการจัดกิจกรรม
  • สอนแบบรูปธรรม
  • สอนสิ่งที่น่าสนใจ
  • ให้เด็กมีส่วนร่วมฃ
  • ใช้เวลาที่ไม่นาน
วิธีการสอน

  • มีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการสอน โดยใช้ Power Point มานำเสนอ
  • มีการถามเป็นรายบุคคล และ ให้ช่วยกันระดมความคิด
  • มีการให้ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน
ทักษะที่ได้
  • ได้ทักษะในการระดมความคิดกับเพื่อน ๆ
  • ได้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ในการแปลงเนื้อเพลง ให้เนื้อเป็นไปตามเรื่องที่เราได้ คือ คณิศศาสตร์
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ไปใช้ในการสอบ หรือ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรม เพื่อจะได้จัดให้ตรงกับการพัฒนาตามวัย
บรรยากาศในการเรียน
  • อากาศในห้องเย็น เพื่อนให้ความร่วมมือดีในการตอบคำถาม และ ในการแปลงเพลงคณิตศาสตร์
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์มาตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน มีการอธิบายซ้ำๆ เมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจ

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ Matheamatic ของวัยซน

ความสามารถทางคณิตศาสตร์ ของแต่ละช่วงวัย

          อายุ 1 ขวบ
                  เขาสามารถเชื่อมโยงความคิดกับตัวเลขด้วยการตีความง่ายๆ เรียนรู้ว่ามีจมูกหนึ่งจมูก มีตาสองตา รู้จังหวะเคลื่อนไหวจากการคลาน
        
          อายุ 2 ขวบ
                  เรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น สามารถจัดประเภทสิ่งของได้ทำให้ลูกเข้าใจจำนวน ตัวเลข รู้จักนับนิ้วมือ 1 2 3 เรียนรู้ความแตกต่างของรูปทรง การจับคู่ รู้จักการใช้เหตุผล มีจินตนาการและเห็นการเชื่อมโยงของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง

          อายุ 3 ขวบ
                  ลูกจะเห็นการจับคู่เป็นเรื่องง่ายแล้วค่ะ วัยนี้จึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ใช้ทั้งความคิด ความมีเหตุผล และเห็นการเชื่อมโยงกันให้มากขึ้น เช่น ลูกมีตุ๊กตากี่ตัวจ๊ะ

          การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูกเริ่มต้นจากการเล่นและการใช้ภาษาที่เป็น ธรรมชาติค่ะ ซึ่งทุกกิจวัตรประจำวันถือเป็นโอกาสดีที่จะผสมผสานให้ลูกได้เรียนรู้และเข้า ใจถึงทักษะง่ายๆ และใกล้ตัว

          เรียนรู้การนับและจำนวน ฝึกให้ลูกรู้จุกการนับจากชีวิตประจำวันขณะกิน เล่น เล่านิทาน เช่น การนับนิ้วมือ
          เรียนรู้ขนาด  ทำให้ลูกดูได้เรียนรู้มากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากัน เช่น การเทน้ำใส่แก้ว
          เรียนรู้รูปทรง การเล่นแท่งบล็อก ลูกได้เรียนรู้ทั้งรูปทรง การเปรียบเทียบสีสัน ขนาด ตำแหน่งที่วาง แม่อาจตั้งคำถามให้ลูกคิด เช่น “มีแท่งบล็อกสี่เหลี่ยมกี่แท่งนะ”
          เรียน วัน เดือน ปี เริ่มต้นให้ลูกเรียนรู้จากกิจกรรมง่ายๆ หรืออาจยกตัวอย่างเป็นวันสำคัญหรือเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง มาให้ลูกฟัง
          เรียนรู้จังหวะ ดนตรี   สามารถฝึกประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้ลูกได้ด้วยการเรียนรู้จังหวะจากเครื่อง ดนตรีง่ายๆ เช่น กลอง ไซโลโฟนหรือเครื่องดนตรีอื่นๆ ที่ตีแล้วเกิดเสียง เช่น การตีกลองโต้ตอบกับลูก ครั้งแรกคุณลองตีกลอง 2 ครั้ง แล้วให้เจ้าตัวเล็กตีกลองรับ 2 ครั้ง เป็นต้น
                  

สรุปวิจัย การศึกษาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์

 การศึกษาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ที่ได้รับ

การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์

ผู้ทำวิจัย
   
        พิศเพลิน ภิรมย์ไกรภักดิ์

บทนำ

         แนวคิดหลักของคอนสตรัคติวิสต์เป็นการสร้างความรู้ที่ได้จากการกระทำของตนเอง โดยอาศัยประสบการณ์เดิม ปฏิสัมพันธ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงการปฏิสัมพันธ์และการไตร่ตรอง ซึ่งความรู้ที่ได้จะนำไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการสร้างความรู้ต่อไป

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

          เพื่อทำการวิจัยและอธิบายการใช้ปัจจัยตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่มีผลต่อความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ขอบข่ายของการวิจัย
  
         ตัวแปรการศึกษามีดังนี้
                         1.ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
                         2.ตัวแปรตาม คือ ความคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย

กลุ่มเป้าหมาย

          นักเรียนชั้นอนุบาลเด็กเล็ก ในภาคเรียนที่ 1 จำนวน 10 คน โรงเรียน สานฝัน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

          1.แบบสังเกตปฏิบัติการสอน
          2.แบบประเมิรความคิดรวบยอด

วิธีการดำเนินการวิจัย       

          1.ผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพ
          2.ทำการสังเกตก่อนการวิจัย 
          3.นำความรู้ที่ได้ในข้อ 2 มาสร้างเป็นแผนกิจกรรมครั้งที่ 1
          4.ผู้วิจัยที่แสดงบทบาทครูดำเนินการตามแผนกิจกรรมครั้งที่ 1
          5.สังเกตและเก็บข้อมูลความคิดรวบยอด
          6.นำข้อมูลที่ได้ในข้อ 5 มาสะท้อนร่วมกัน
          7.นำข้อมูลที่ได้ในข้อ 6 มาวิเคราะห์โดยใช้แบบประเมิณความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ และประเมิณความคิดรวบยอดของเด็ก
          8.นำผลวิเคราะมาสร้างแผนการจัดกิจกรรม สำหรับใช้ต่อไป
          9.ดำเนินการวิจัย 4-8 อีกครั้ง เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 2
          10.นำข้อมูลมาสะท้อนแบบประเมิณความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ และประเมิณความคิดรวบยอดของเด็ก ครั้งที่ 1-5 มาวิเคราะห์ผลตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
          11.ดำเนินกิจกรรม ตามข้อ 4-8 เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 6-8
          12.ดำเนินการตามข้อ 10
          13.ดำเนินกิจกรรม ตามข้อ 4-8 เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 9-15
          14.นำข้อมูลจากการสังเกตครั้งที่ 15  ไปเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานเดิมของเด็ก
          15.นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อแสดงถึงพัฒนาการ

สรุปผลการวิจัย
          ปัจจัยตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ทั้ง 4 ประการ คือ ประสบการณ์เดิม ปฏิสัมพันธ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงการปฏิสัมพันธ์และการไตร่ตรอง เมื่อใช้ในกิจกรรมคณิตศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ส่งผลให้เด็กกลุ่มตัวอย่าง เกิดความเข้าใจใน เรื่องการจัดประเภท การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ และการอนุรักษ์ มากขึ้น

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 14 มกราคม 2558

ครั้งที่ 2

เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ

          1.ความหมายของคณิตศาสตร์

                    คณิต หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ ศาสตร์ หมายถึง ระบบ วิชาความรู้
                    คณิตศาสตร์ หมายถึง เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้มีอาชีพเป็นสถาปนิก วิศวกรออกแบบ และควบคุมการก่อนสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลก ใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับคณิตศาตร์ หรือตัวเลขต่าง ๆ ในการปรกอบกิจกรรมนั้น ๆ

          2. ความสำคัญของคณิตศาสตร์

                     คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือใน การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
                 
                สรุปความสำคัญ

                      1. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิดทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไม่ หรือเกือบจะเป็นจริง

                      2. คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม สัญลักษณ์ที่รัดกุม สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด เช่น อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด สมการ 3+5 = 8 ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน

                      3. คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่รวมของความรู้ โครงสร้างของคณิตศาสตร์บางทีก็คล้ายกับโครงสร้างของปรัชญา และศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสนา เพราะเป็นโครงสร้างที่มีเหตุผล ซึ่งเริ่มต้นด้วยอนิยาม จุด เส้น ระนาบในเชิงเรขาคณิต

                      4. คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแบบแผน ที่ว่ามีแบบแผนนั้น หมายความว่าจะต้องคิดอยู่ในแบบแผน หรือความคิดที่ตั้งไว้ เช่น คลื่นวิทยุ โครงสร้างของโมเลกุล ฯลฯ เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีแบบแผนของมัน ที่จะจำแนกได้ในทางคณิตศาสตร์

                      5. คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเหมือนกับศิลปะแขนงอื่น ๆ ความงามของคณิตศาสตร์ประกอบด้วยความมีระเบียบ และความกลมกลืนที่เกิดขึ้นภายใน

          3.ทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่
                   
                      1. ทักษะการสังเกต(Observation)  คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดประสงค์

                      2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)  คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น  ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม  ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง

                      3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)  คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง

                      4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering)  คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของ หรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม

                      5. ทักษะการวัด(Measurement)  คือ เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่) เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม

                      6. ทักษะการนับ(Counting)  คือ แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน ได้แก่ การนับปากเปล่า บอกขนาดของกลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น  นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข  การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน  การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน ในเด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย

                      7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size)  คือ เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ

          4.ประโยชน์ของคณิตศาสตร์

                      1. ในด้านชีวิตประจำวัน เช่น ในครอบครัวก็ใช้ทำงบดุลในครอบครัว, ทำบัญชีรายรับรายจ่าย และในปกติมักจะมีการคำนวณเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เช่น ในเกมส์ในกีฬา
                      2. ในด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้มีรูปแบบในการทดลองและวิเคราะห์ข้อเท็จ จริง นักวิทยาศาสตร์ใช้ประโยชน์คณิตศาสตร์ในการค้นพบสูตรได้อย่างมแม่นยำ และมีการคาดคะเนตั้งสมมุติฐานต่างๆ
                      3. ในด้านอาชีพ และ ธุรกิจต่าง ๆ  คณิตศาสตร์ใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการและจัดการที่เกี่ยวกับการซื้อขาย

วิธีการสอน

  • อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม โดยมีหัวข้อให้ดังนี้ ความหมายของคณิตศาสตร์,ความสำคัญของคณิตศาสตร์,ทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
  • แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอตามหัวข้อที่ได้รับ

การประยุกต์ใช้

  • ได้เข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มากขึ้น สามารถนำไปใช้ในการเรียน การสอนได้

 บรรยากาศในการเรียน

  • แอร์หนาวและเย็นมาก
  • พื้นที่เวลาทำงานกลุ่ม มันเล็กเกินไป

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มีความตั้งใจในการสอน พูดเสียงดัง ฟังชัด  มีการแก้ปัญหาได้ดี เนื่องจากอุปกรณ์ในการสอนไม่ครบ






วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 7 มกราคม 2558

เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ (คาบแรก)

          จุดมุ่งหมายรายวิชา

                    1.คุณธรรม จริยธรรม
                    2.ความรู้
                    3.ทักษะทางปัญญา การนำความรู้ที่เรียนมา นำไปใช้ประโยชน์
                    4.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
                    5.ทักษะทางสังคม ประมวลผล สารสนเทศ
                    6.ทักษะของการจัดการเรียนรู้

             วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                       

                     การจัดประสบการณ์
  • จัดสภาพแวดล้อมให้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ได้เรียน
  • จัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยการยึดเด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียน   
                       
                     คณิตศาสตร์
  • ความหมาย และ ความสำคัญของคณิตศาสตร์
  • แนวคิด และ ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
  • บวก ลบ คูณ หาร
  • รูปทรง
  • การนับเลข
                     เด็กปฐมวัย
  • ศึกษาพัฒนาการ ในเรื่อง ความแตกต่าง ระหว่างบุคคล และ ความต้องการ
  • เรียนรู้ผ่านการเล่น โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5  คือ                                                                               ตา - ดู
                          หู - ฟัง
                          ลิ้น - ชิมรส
                          จมูก - ดมกลิ่น
                          กาย - สัมผัส    

วิธีการสอน  

  •  ใช้โปรแกรม My Map สื่อออนไลน์ต่าง ๆ 
  •  อาจารย์ให้นักศึกษาระดมความคิด        

ทักษะที่ได้

  •  ได้ความกล้าแสดงออกในการตอบคำถาม
  •  ได้ทักษะทางสังคม ที่ช่วยในการคิด แล้ว ตอบ 
  •  ได้ทักษะกระบวนการคิด

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวติประจำวัน อีกทั้ง ยังสามารถนำความรู้ไปจัดประสบการณ์การสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยได้

บรรยากาศในการเรียน

  • อากาศที่ห้องเย็นมาก เพื่อนๆ มาเรียนกันน้อย มีการช่วยกันตอบคำถาม ระดมความคิด

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์แต่งตัวสุภาพเรียบร้อยมาก มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย มีการใช้ My Map เพื่อให้นักศึกษาเห็นถึงความสัมพันธ์