Orange Rainbow Over Clouds

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปวิจัย การศึกษาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์

 การศึกษาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ที่ได้รับ

การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์

ผู้ทำวิจัย
   
        พิศเพลิน ภิรมย์ไกรภักดิ์

บทนำ

         แนวคิดหลักของคอนสตรัคติวิสต์เป็นการสร้างความรู้ที่ได้จากการกระทำของตนเอง โดยอาศัยประสบการณ์เดิม ปฏิสัมพันธ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงการปฏิสัมพันธ์และการไตร่ตรอง ซึ่งความรู้ที่ได้จะนำไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการสร้างความรู้ต่อไป

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

          เพื่อทำการวิจัยและอธิบายการใช้ปัจจัยตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่มีผลต่อความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ขอบข่ายของการวิจัย
  
         ตัวแปรการศึกษามีดังนี้
                         1.ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
                         2.ตัวแปรตาม คือ ความคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย

กลุ่มเป้าหมาย

          นักเรียนชั้นอนุบาลเด็กเล็ก ในภาคเรียนที่ 1 จำนวน 10 คน โรงเรียน สานฝัน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

          1.แบบสังเกตปฏิบัติการสอน
          2.แบบประเมิรความคิดรวบยอด

วิธีการดำเนินการวิจัย       

          1.ผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพ
          2.ทำการสังเกตก่อนการวิจัย 
          3.นำความรู้ที่ได้ในข้อ 2 มาสร้างเป็นแผนกิจกรรมครั้งที่ 1
          4.ผู้วิจัยที่แสดงบทบาทครูดำเนินการตามแผนกิจกรรมครั้งที่ 1
          5.สังเกตและเก็บข้อมูลความคิดรวบยอด
          6.นำข้อมูลที่ได้ในข้อ 5 มาสะท้อนร่วมกัน
          7.นำข้อมูลที่ได้ในข้อ 6 มาวิเคราะห์โดยใช้แบบประเมิณความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ และประเมิณความคิดรวบยอดของเด็ก
          8.นำผลวิเคราะมาสร้างแผนการจัดกิจกรรม สำหรับใช้ต่อไป
          9.ดำเนินการวิจัย 4-8 อีกครั้ง เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 2
          10.นำข้อมูลมาสะท้อนแบบประเมิณความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ และประเมิณความคิดรวบยอดของเด็ก ครั้งที่ 1-5 มาวิเคราะห์ผลตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
          11.ดำเนินกิจกรรม ตามข้อ 4-8 เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 6-8
          12.ดำเนินการตามข้อ 10
          13.ดำเนินกิจกรรม ตามข้อ 4-8 เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 9-15
          14.นำข้อมูลจากการสังเกตครั้งที่ 15  ไปเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานเดิมของเด็ก
          15.นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อแสดงถึงพัฒนาการ

สรุปผลการวิจัย
          ปัจจัยตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ทั้ง 4 ประการ คือ ประสบการณ์เดิม ปฏิสัมพันธ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงการปฏิสัมพันธ์และการไตร่ตรอง เมื่อใช้ในกิจกรรมคณิตศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ส่งผลให้เด็กกลุ่มตัวอย่าง เกิดความเข้าใจใน เรื่องการจัดประเภท การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ และการอนุรักษ์ มากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น