Orange Rainbow Over Clouds

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2558

ครั้งที่ 7

 

เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ

 

ทำกิจกรรมการมาเรียนของนักเรียน

  •  กิจกรรมเขียนชื่อบนกระดาน เรื่อง การมาเรียน ซึ่งเป็นการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน ความรู้ที่ได้จากการทำกิจกรรมนี้ คือ เด็กสามารถเรียนเรื่อง ลำดับก่อน หลัง เรื่อง เวลา และ ภาษาอีกด้วย

ทบทวนเพลงเก่า ๆ ที่เคยร้อง

 

รูปแบบการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบบรูณาการ
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบโครงการ
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบสมองเป็นฐาน
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบSTEM
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบมอนเตสเซอรี่
  • รูปแบบการจัดประสบการณ์ แบบเดินเรื่อง

เพื่อน ๆ นำเสนอโทรทัศน์ครู

  • เลขที่ 17 ครูนิตยากับการสอนคณิตศาสตร์โดยใช้ลูกเต๋า

รูปแบบการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการ

  • หมายถึง กระบวนการจัดประสบการณ์ตามความสนใจ ความสามารถโดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม และสามารถนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ความสำคัญ

  • การจัดประสบการณ์แบบบรูณาการจะช่วยให้สามาดนำความรู้ ทักษะจากหลาย ๆ ศาสตร์มาแก้ไขปัญหาได้กับชีวิตประจำวัน
  • การจัดประสบการณ์แบบบรูณาการเกิความสัมพันธ์เชื่อมโยงความคิดรวบยอดของศาสตร์ต่าง ๆ เข้าด้วยกันทำให้เกิดถ่ายโอนประสบการณ์ของศาสตร์ต่า ๆ เข้าด้วยกัน
  • ช่วยลดความซ้ำซ้อนของเนื้อหารายวิชาต่าง ๆ 
  • จะช่วยตอบสนองต่อความสามาถในหลย ๆ ด้านของผู้เรียน จะช่วยสร้างความรู้ ทักษะและเจตคติแบบพหุปัญญา
  • สอดคล้องกับทฤษฎีการสร้างความรู้โดยผู้เรียนที่กำลับเผยแพร่ในปัจจุบัน

การนำไปใช้ ควรคำนึงถึง....

  • เด็ก ต้องการ อยาก รู้อะไร
  • เด็ก ต้องการ อยาก ทำอะไร

สาระที่ควรเรียน

  • ตัวเด็ก
  • บุคคลและสถานที่
  • ธรรมชาติรอบตัว
  • สิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก

 

ทำ My Map เกี่ยวกับตัวเด็ก,บุคคลและสถานที่,ธรรมชาติรอบตัว และสิ่งต่าง ๆ รอบตัวเด็ก


วิธีการสอน

  • อาจารย์มีการทบทวนความรู้เดิม และทบทวนสิ่งต่าง ๆ ที่เรียนไปในสัปดาห์ที่แล้ว
  • ใช้เทคโนโลยีในการช่วยสอน
  • เปิดโอกาสให้เด็กได้ช่วยกันระดมความคิด และ การตอบคำถาม

ทักษะที่ได้

  • ได้ทักษะการเขียน My Map
  • ได้ทักษะกระบวนการคิด
  • ได้รับประสบการณ์จริงจากการได้ทำกิจกรรม

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้ของการสอนแบบบูรณาการ ไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ และเหมาะสมตามวัย เพื่อพัฒนาทักษะต่าง ๆ ของเด็ก

บรรยากาศในการเรียน

  • แอร์ค่อยข้างเย็น
  • ห้องสะอาด

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มีการเตรียมความพร้อมที่ดีมากในการสอน ทั้งสื่อ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
  • อาจารย์ผู้เสียงดัง ฟังชัด
  • มีการทบทวนความรู้เดิมของเด็ก

วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558

ครั้งที่ 5
เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ

ทำกิจกรรมที่จะไปเที่ยวในวันวาเลนไทน์

  • ให้นักศึกษาคิดสถานที่ ที่อยากไปในวันวาเลนไทน์ มา 3 สถานที่ ได้แก่ เกาหลี ทะเล ดรีมเวิลล์ ซึ่งกิจกรรมนี้ จะช่วยให้เด็กรู้จัก การนับจำนวน เป็นกิจกรรมที่ประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

ทดสอบก่อนเรียน มีคำถามดังนี้

  • เทคนิคการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ มีอะไร และนำไปประยุกต์ใช้ได้อย่างไรบ้าง

เทคนิคการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์

  • นิทาน
  • เพลง
  • เกม
  • คำคล้องจอง
  • ปริศนาคำทาย
  • บทบาทสมมุติ
  • แผนภูมิ
  • การประกอบอาหาร

เพื่อน ๆ ทำเสนอ วิจัย

  • เลขที่ 13 เรื่อง การสร้างหนังสือภาพเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับเด็กปฐมวัย
  • เลขที่ 14 เรื่อง การพัฒนาความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยการละเล่นพื้นบ้าน

เพลง นับนิ้วมือ


นี่คือนิ้วมือของฉัน มือฉันนั้นมีสิบนิ้ว
มือซ้ายก็มีห้านิ้ว มือขวาก็มีห้านิ้ว
นับ 1 2 3 4 5 นับต่อมา 6 7 8 9 10
นับนิ้วนั้นจงอย่ารีบ นับ 1 ถึง 10 จำให้ขึ้นใจ

เพลง หนึ่ง - สอง - สาม


1 2 3 เป็นยามปลอด     4 5 6 ลอดรั้งออกไป
7 8 9 แดดแจ่มใส     10 11 ไวไววิ่งไล่กัน
12 13 รีบย่องกลับ 14 15 หลับแล้วฝัน
16 17 ตกเตียงพลัน     18 19 20 นั้นฉันหัวโน

แบ่งกลุ่มทำกิจกรรม

  • แบ่งกลุ่มช่วยกันตัดกระดาษรูปสี่เหลี่ยม 3 สี สีล่ะ 10 อัน
  • อาจารย์ให้นักศึกษา นำกระดาษที่ตัด มาต่อให้เกิดรูปทรง ตั้งแต่ กระดาษสี่เหลี่ยม 1 แผ่น จนถึง 5 แผ่น

วิธีการสอน

  • อาจารย์มีการสอนที่นำเทศกาลที่ใกล้จะถึง คือ วันวาเลนไทน์ มาประยุกต์ในการสอน เรื่อง การนับจำนวน
  • มีการทำแบบทดสอบเพื่อทราบถึงความรู้เดิม
  • มีการทบทวนความรู้ในสัปดาห์ที่ผ่านมา
  • เปิดโอกาสให้เด็กถาม และตอบ

ทักษะที่ได้

  • ได้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่ม 
  • ทักษะด้านการตอบคำถาม คิดวิเคราะห์

การะประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้ที่เรียนมา ไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ให้เด็กได้อย่างเหมาะสม กับตัวเด็ก และมีวิธีแปลใหม่ มาสอนเด็กๆ

บรรยากาศในการเรียน

  • อากาศในห้อง หนาว แอร์เปิดเย็นเกินไป
  • เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน ช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์สามารถนำกิจกรรมต่าง ๆ มาประยุกต์ให้เหมาะกับการเรียนการสอน แต่งกายเรียบร้อย มาสอนตรงเวลา พูดเสียงดังฟังชัด

วันอาทิตย์ที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2558

ครั้งที่ 5
เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ
มีการทดสอบก่อนเรียน มีคำถามดังนี้

  • มาตราฐานคืออะไรและมีประโยน์อย่างไร
  • สาระและมาตราฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์มีอะไรบ้าง
  • สาระและมาตราฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์สู่การปฏิบัติในชั้นเรียนทำได้อย่างไรบ้าง

เพื่อน ๆ นำเสนอ บทความ

  • เลขที่ 10 บทความเรื่อง Mathematic ของวัยซน

เพลง จัดแถว


สองมือเราชูตรง แล้วเอาลมาเสมอกับบ่า
ต่อไปย้ายมาข้างหน้า แล้วเอาลงมาอยู่ในท่ายืนตรง


เพลง ซ้ายขวา


ยืนให้ตัวตรง ก้มหัวลงตบมือแผละ
แขนซ้าย(ขวา)อยู่ไหน หันตัวไปทางนั้นแหละ



เพลง นกกระจิบ


นั่นนก บินมาลิบลิบ นกกระจิบ 1 2 3 4 5 
อีกฝูงบินล่องรอยมา 6 7 8 9 10 ตัว

กรอบมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย


          เด็กปฐมวัยเรียนรู้อะไรในคณิตศาสตร์ ให้เด็กเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ เพื่อนเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาต่อไป

สาระและมาตรฐานการเรียน

          สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
          สาระที่ 2 : การวัด
          สาระที่ 3 : เรขาคณิต
          สาระที่ 4 : พีชคณิต
          สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
          สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์


คุณภาพของเด็กเมื่อจบการศึกษาปฐมวัย

  • มีความคิดเชิงคณิตศาสตร์ เช่น นับจำนวน 1 - 20
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับความยาว ปริมาตร น้ำหนัก เงิน และ เวลา
  • มีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานทางเรขาคณิต
  • มีความรู้ความเข้าใจเรื่องรูปทรง ขนาด สี ที่สัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบแผนภูมิอย่างง่าย
  • มีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่จำเป็น

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สู้การปฏิบัติในชั้นเรียน


          สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ
               มาตราฐาน ค.ป. 1.1 เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนใน  ชีวิตจริง

          สาระที่ 2 : การวัด  
     มาตรฐาน ค.ป. 2.1 เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

          สาระ 3 : เรขาคณิต
              มาตรฐาน ค.ป. 3.1 รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง

              มาตรฐาน ค.ป. 3.2 รู้จักจำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ




          สาระที่ 4 : พีชคณิต
              มาตรฐาน ค.ป. 4.1 เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์


          สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
              มาตรฐาน ค.ป. 5.1 รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตนเองและสิ่งแวดล้อมที่จะนำเสนอการเก็บข้อมูล

          สาระที่ 6 : ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

               มาตราฐาน ค.ป. 6.1 การแก้ไขปัญหา การใช้เหตุผล การส่อสาร การเคลื่อนไหว ความรู้ต่าง ๆ ทางคณิคศาสตร์ และเชื่อมโยงคณิตศาสตร์อื่น ๆ ได้



วิธีการสอน

  • อาจารย์ให้ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน เพื่อทราบถึงความรู้เดิม
  • ใช้เทคโนโลยีในการช่วยสอน โปรแกรม Power Point
  • มีการถาม ตอบ

ทักษะที่ได้

  • ได้ทักษะการคิดวิเคราะห์ ในการตอบคำถาม

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้ไปใช้ในการจัดกิจกรรมให้กับเด็กปฐมวัย ให้สอดคล้องกับสาระ และ มาตรฐานการเรียนรู้

บรรยากาศในการเรียน

  • อากาศค่อนข้างเย็น
  • เทคโนโลยีทันสมัย ไม่ขัดข้อง
  • เพื่อน ๆ ตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มาสอนตรงเวลา พูดเสียงดังฟังชัด สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้นักศึกษาได้


วันอาทิตย์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู

เรื่อง การสอนแทนค่า
ครู  Place Value

          เนื่องจาก นักเรียนมีปัญหาในการนับเลข รร.สปริงฟิลด์ ที่เมือง เจอร์ซี จึงมีการทดลองใช้วิธีการสอนแบบใหม่ ยกตัวอย่างเช่น ครูกำหนดให้ 2000 เป็นเลขสองตามด้วยพัน นักเรียนเพิ่มเติมเทคนิคนี้เข้าไปใน เรื่องของเลขคณิต พวกเขาทำอย่างเดียวกันกับเลขหลักร้อย ไปถึง หลักสิบ โดยใช้คำว่า ty ในการนับเลขหลักสิบ มีการปรับคำบ้างเพื่อไม่ให้บดบังระบบของตัวเลขยี่สิบเอ็ก คือ two-ty-one (21 มี 2 กับ 1 ) ครูมีการแนะนำให้เด็กรู้จักตัวเลขที่มากขึ้น โดยใช้บัตรภาพ 


บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 28 มกราคม 2558

ครั้งที่ 4

เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ

มีการทดสอบก่อนเรียน และมีการตั้งคำถามดังนี้

  • ทฤษฏีเพียเจต์กับความรู้ทางคณิตศาสตร์
  • จุดมุ่งหมายของการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • หลักการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เพื่อน ๆ นำเสนอโทรทัศน์ เลขที่ 7-9

  • เลขที่ 7 เรื่อง ของเล่นและของใช้
  • เลขที่ 8 ผลไม้แสนสนุก
  • เลขที่ 9 บูรณาการสู่ความพร้อมในการเรียนรู้

เด็กปฐมวัยกับการสอน

  • กิจกรรมต่างๆผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
  • ลงมือกระทำ
  • เล่นโดยผ่านประสาทสัมผัส
  • ใช้สื่อจริง (รูปธรรม) ทำให้น่าสนใจ

จุดมุ่งหมายการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • ให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจ
  • รู้จักกระบวนการหาคำตอบ
  • ให้เด็กฝึกฝนคณิตศาสตร์พื้นฐาน
  • ส่งเสริมให้เด็กค้นคว้าหาคำตอบด้วยตนเอง

ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  •  การสังเกต  ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เพื่อหาคำตอบ
  • การจำแนก  ใช้เกณฑ์ ความเหมือน ความต่าง
  • การเปรียบเทียบ  หาความแตกต่างระหว่างของ 2 สิ่ง
  • การจัดลำดับ  เป็นทักษะการเปรียบเทียบขั้นสูง
  • การวัด  การวัดสิ่งของต่าง ๆ
  • การนับ  นับสิ่งของต่าง ๆ แต่ส่วนใหญ่เด็กจะใช้การท่องจำ แต่ไม่รู้ความหมาย
  • รูปทรงและขนาด  เด็กจะรู้สิ่งเหล่านี้ก่อนที่จะเข้าโรงเรียน เพราะ เห็นได้ตามการใช้ชีวิตประจำวัน

ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

  • การสังเกต
  • การนับ
  • การแยกประเภท
  • การจัดลำดับ
  • การวัด
  • รูปทรงและขนาด
  • การเปรียบเทียบ

เพลง เข้าแถว


เข้าแถว เข้าแถว
อย่าล้ำแนวยืนเรียงกัน
อย่ามัวแชเชือนเดินตามเพื่อนให้ทัน
ระวังเดินชนกันเข้าแถวพลันว่องไว

เพลง สวัสดียามเช้า


ตื่นเช้าแปรงฟันล้างหน้า
อาบน้ำแล้วมาแต่งตัว
กินอาหารของดีมีทั่ว
หนูเตรียมตัวจะไปโรงเรียน

สวัสดีคุณแม่คุณพ่อ

ไม่รีรอรีบไปโรงเรียน

หลั่นล้า หลั่นลา หลั่นล่า หลั่น ลันลา หลั่นลา หลั่นล้า


เพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน


หนึ่งปีนั้นมีสิบสองเดือน
อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น

หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน

หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน

อาทิตย์ จันทร์ อังคาร์ พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์


หลั่นลัน หลั่นล้า

วิธีการสอน

  • อาจารย์ทบทวนความรู้เดิมของนักศึกษา มีการถามตอบ มีการใช้เทคโนโลยีในการช่วยสอน อีกทั้ง วันนี้ มีเพื่อนมา เซอร์ไพร์วันเกิด อาจารย์ก็สามารถนำมาประยุกต์ให้เป็นการเรียนการสอนได้

ทักษะที่ได้

  • ได้ในเรื่องการคิด การตอบคำถาม เพื่อตอบคำถามให้ถูกต้อง
  • ได้ทักษะทางสังคม ในการช่วยกันคิดคำตอบกับเพื่อน

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมให้เด็กปฐมวัย โดย เด็กจะเรียนรู้โดยประสาทสัมผัสทั้ง 5

บรรยากาศในการเรียน

  • เพื่อน ๆ มีความตั้งใจเรียน สนุกสนานกับการเรียนการสอน

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มาสอนตรงเวลา พูดเสียงดังฟังชัด มีการยกตัวอย่างให้ชัดเจน