Orange Rainbow Over Clouds

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 21 มกราคม 2558

ครั้งที่ 3

เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ   

มีการทดสอบก่อนเรียน โดยมีคำถามดังต่อไปนี้
  • ทดสอบก่อนเรียนเกี่ยวกับความรู้เดิมที่เคยเรียนมา
  • ความหมายและประโยชน์ของพัฒนาการคืออะไร
  • พัฒนาการทางสติปัญญาสัมพันธ์กับการทำงานของสมองอย่างไร
  • พัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ บรูเนอร์ ไวกอตซกี้ มีลักษณะอย่างไร
  • การเรียนรรู้หมายถึงอะไรและมีประโยชน์อย่างไร
  • เด็กปฐมวัยมีวิธีการเรียนรู้อย่างไรและมีประโยชน์อย่างไร

เพื่อนนำวิจัยมานำเสนอ เลขที่ 4-6

  • เลขที่ 4 เรื่อง การสร้างชุดทักษะสำหรับเกมการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
  • เลขที่ 5 เรื่อง การเตรียมความพร้อมเพื่อพัฒนาเกมการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย
  • เลขที่ 6 การส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์โดยผ่านการเล่น



อาจารย์สอนวิธีการมานำเสนอหน้าชั้นเรีย 
  • การแนะนำตัว ต้องเสียงดัง ฟังชัด
  • พูดชัดถ้อย ชัดคำ
  • วิธีการนำเสนอวิจัยหน้าชั้นเรีย
  • สรุปวิจัยมาให้ดี/กระชับ 
  • ต้องมี ความสำคัญ,ขอบเขตการวิจัย,การดำเนินการ,เครื่องมือที่ใช้,คำศัพท์เฉพาะ,วัตถุประสงค์,สรุปผลการวิจัย



หลักการจัดกิจกรรม
  • สอนแบบรูปธรรม
  • สอนสิ่งที่น่าสนใจ
  • ให้เด็กมีส่วนร่วมฃ
  • ใช้เวลาที่ไม่นาน
วิธีการสอน

  • มีการใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการสอน โดยใช้ Power Point มานำเสนอ
  • มีการถามเป็นรายบุคคล และ ให้ช่วยกันระดมความคิด
  • มีการให้ทำแบบฝึกหัดก่อนเรียน
ทักษะที่ได้
  • ได้ทักษะในการระดมความคิดกับเพื่อน ๆ
  • ได้ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ในการแปลงเนื้อเพลง ให้เนื้อเป็นไปตามเรื่องที่เราได้ คือ คณิศศาสตร์
การประยุกต์ใช้
  • สามารถนำความรู้ไปใช้ในการสอบ หรือ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ 
  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการจัดกิจกรรม เพื่อจะได้จัดให้ตรงกับการพัฒนาตามวัย
บรรยากาศในการเรียน
  • อากาศในห้องเย็น เพื่อนให้ความร่วมมือดีในการตอบคำถาม และ ในการแปลงเพลงคณิตศาสตร์
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
  • อาจารย์มาตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อธิบายเนื้อหาได้ชัดเจน มีการอธิบายซ้ำๆ เมื่อนักศึกษาไม่เข้าใจ

วันอาทิตย์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2558

สรุปบทความ Matheamatic ของวัยซน

ความสามารถทางคณิตศาสตร์ ของแต่ละช่วงวัย

          อายุ 1 ขวบ
                  เขาสามารถเชื่อมโยงความคิดกับตัวเลขด้วยการตีความง่ายๆ เรียนรู้ว่ามีจมูกหนึ่งจมูก มีตาสองตา รู้จังหวะเคลื่อนไหวจากการคลาน
        
          อายุ 2 ขวบ
                  เรียนรู้สิ่งที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น สามารถจัดประเภทสิ่งของได้ทำให้ลูกเข้าใจจำนวน ตัวเลข รู้จักนับนิ้วมือ 1 2 3 เรียนรู้ความแตกต่างของรูปทรง การจับคู่ รู้จักการใช้เหตุผล มีจินตนาการและเห็นการเชื่อมโยงของสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง

          อายุ 3 ขวบ
                  ลูกจะเห็นการจับคู่เป็นเรื่องง่ายแล้วค่ะ วัยนี้จึงควรจัดกิจกรรมให้เด็กๆ ได้ใช้ทั้งความคิด ความมีเหตุผล และเห็นการเชื่อมโยงกันให้มากขึ้น เช่น ลูกมีตุ๊กตากี่ตัวจ๊ะ

          การเรียนรู้คณิตศาสตร์ของลูกเริ่มต้นจากการเล่นและการใช้ภาษาที่เป็น ธรรมชาติค่ะ ซึ่งทุกกิจวัตรประจำวันถือเป็นโอกาสดีที่จะผสมผสานให้ลูกได้เรียนรู้และเข้า ใจถึงทักษะง่ายๆ และใกล้ตัว

          เรียนรู้การนับและจำนวน ฝึกให้ลูกรู้จุกการนับจากชีวิตประจำวันขณะกิน เล่น เล่านิทาน เช่น การนับนิ้วมือ
          เรียนรู้ขนาด  ทำให้ลูกดูได้เรียนรู้มากกว่า น้อยกว่า หรือเท่ากัน เช่น การเทน้ำใส่แก้ว
          เรียนรู้รูปทรง การเล่นแท่งบล็อก ลูกได้เรียนรู้ทั้งรูปทรง การเปรียบเทียบสีสัน ขนาด ตำแหน่งที่วาง แม่อาจตั้งคำถามให้ลูกคิด เช่น “มีแท่งบล็อกสี่เหลี่ยมกี่แท่งนะ”
          เรียน วัน เดือน ปี เริ่มต้นให้ลูกเรียนรู้จากกิจกรรมง่ายๆ หรืออาจยกตัวอย่างเป็นวันสำคัญหรือเทศกาลต่างๆ เช่น ปีใหม่ สงกรานต์ ลอยกระทง มาให้ลูกฟัง
          เรียนรู้จังหวะ ดนตรี   สามารถฝึกประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้ลูกได้ด้วยการเรียนรู้จังหวะจากเครื่อง ดนตรีง่ายๆ เช่น กลอง ไซโลโฟนหรือเครื่องดนตรีอื่นๆ ที่ตีแล้วเกิดเสียง เช่น การตีกลองโต้ตอบกับลูก ครั้งแรกคุณลองตีกลอง 2 ครั้ง แล้วให้เจ้าตัวเล็กตีกลองรับ 2 ครั้ง เป็นต้น
                  

สรุปวิจัย การศึกษาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ที่ได้รับการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์

 การศึกษาความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ ที่ได้รับ

การจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์

ผู้ทำวิจัย
   
        พิศเพลิน ภิรมย์ไกรภักดิ์

บทนำ

         แนวคิดหลักของคอนสตรัคติวิสต์เป็นการสร้างความรู้ที่ได้จากการกระทำของตนเอง โดยอาศัยประสบการณ์เดิม ปฏิสัมพันธ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงการปฏิสัมพันธ์และการไตร่ตรอง ซึ่งความรู้ที่ได้จะนำไปใช้เป็นเครื่องมือ ในการสร้างความรู้ต่อไป

จุดมุ่งหมายของการวิจัย

          เพื่อทำการวิจัยและอธิบายการใช้ปัจจัยตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ในการจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่มีผลต่อความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย

ขอบข่ายของการวิจัย
  
         ตัวแปรการศึกษามีดังนี้
                         1.ตัวแปรต้น คือ กิจกรรมคณิตศาสตร์ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
                         2.ตัวแปรตาม คือ ความคิดรวบยอดของเด็กปฐมวัย

กลุ่มเป้าหมาย

          นักเรียนชั้นอนุบาลเด็กเล็ก ในภาคเรียนที่ 1 จำนวน 10 คน โรงเรียน สานฝัน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

          1.แบบสังเกตปฏิบัติการสอน
          2.แบบประเมิรความคิดรวบยอด

วิธีการดำเนินการวิจัย       

          1.ผู้วิจัยและผู้ช่วยวิจัยศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการดำเนินงานวิจัยเชิงคุณภาพ
          2.ทำการสังเกตก่อนการวิจัย 
          3.นำความรู้ที่ได้ในข้อ 2 มาสร้างเป็นแผนกิจกรรมครั้งที่ 1
          4.ผู้วิจัยที่แสดงบทบาทครูดำเนินการตามแผนกิจกรรมครั้งที่ 1
          5.สังเกตและเก็บข้อมูลความคิดรวบยอด
          6.นำข้อมูลที่ได้ในข้อ 5 มาสะท้อนร่วมกัน
          7.นำข้อมูลที่ได้ในข้อ 6 มาวิเคราะห์โดยใช้แบบประเมิณความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ และประเมิณความคิดรวบยอดของเด็ก
          8.นำผลวิเคราะมาสร้างแผนการจัดกิจกรรม สำหรับใช้ต่อไป
          9.ดำเนินการวิจัย 4-8 อีกครั้ง เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 2
          10.นำข้อมูลมาสะท้อนแบบประเมิณความคิดรวบยอดทางคณิตศาสตร์ และประเมิณความคิดรวบยอดของเด็ก ครั้งที่ 1-5 มาวิเคราะห์ผลตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์
          11.ดำเนินกิจกรรม ตามข้อ 4-8 เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 6-8
          12.ดำเนินการตามข้อ 10
          13.ดำเนินกิจกรรม ตามข้อ 4-8 เพื่อจัดกิจกรรมครั้งที่ 9-15
          14.นำข้อมูลจากการสังเกตครั้งที่ 15  ไปเปรียบเทียบข้อมูลพื้นฐานเดิมของเด็ก
          15.นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ เพื่อแสดงถึงพัฒนาการ

สรุปผลการวิจัย
          ปัจจัยตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ ทั้ง 4 ประการ คือ ประสบการณ์เดิม ปฏิสัมพันธ์สิ่งแวดล้อม รวมถึงการปฏิสัมพันธ์และการไตร่ตรอง เมื่อใช้ในกิจกรรมคณิตศาสตร์ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ส่งผลให้เด็กกลุ่มตัวอย่าง เกิดความเข้าใจใน เรื่องการจัดประเภท การเปรียบเทียบ การเรียงลำดับ และการอนุรักษ์ มากขึ้น

วันเสาร์ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 14 มกราคม 2558

ครั้งที่ 2

เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ

          1.ความหมายของคณิตศาสตร์

                    คณิต หมายถึง การนับ การคำนวณ วิชาคำนวณ การประมาณ ศาสตร์ หมายถึง ระบบ วิชาความรู้
                    คณิตศาสตร์ หมายถึง เป็นวิชาที่มีความจำเป็นในการประกอบอาชีพ เช่น ด้านกสิกรรม อุตสาหกรรม และพาณิชยกรรม ผู้มีอาชีพเป็นสถาปนิก วิศวกรออกแบบ และควบคุมการก่อนสร้าง นักวิทยาศาสตร์คิดค้นสิ่งแปลก ใหม่ นักเศรษฐศาสตร์มีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ ความสามารถ เกี่ยวกับคณิตศาตร์ หรือตัวเลขต่าง ๆ ในการปรกอบกิจกรรมนั้น ๆ

          2. ความสำคัญของคณิตศาสตร์

                     คณิตศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้อย่างถี่ถ้วนรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสินใจและแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมคณิตศาสตร์เป็นเครื่องมือใน การศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตลอดจนศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
                 
                สรุปความสำคัญ

                      1. คณิตศาสตร์เป็นวิชาที่เกี่ยวกับการคิด เราใช้คณิตศาสตร์เพื่อพิสูจน์อย่างมีเหตุผลว่า ความคิดทั้งหลายนั้นเป็นความจริงหรือไม่ หรือเกือบจะเป็นจริง

                      2. คณิตศาสตร์เป็นภาษาอย่างหนึ่ง คณิตศาสตร์เป็นภาษาที่กำหนดเทอม สัญลักษณ์ที่รัดกุม สื่อความหมายได้ถูกต้อง เป็นภาษาที่มีตัวอักษรแสดงความหมายแทนความคิด เช่น อักษรจีน เป็นสัญลักษณ์แทนความคิด สมการ 3+5 = 8 ก็มีความหมายเช่นเดียวกัน

                      3. คณิตศาสตร์เป็นโครงสร้างที่รวมของความรู้ โครงสร้างของคณิตศาสตร์บางทีก็คล้ายกับโครงสร้างของปรัชญา และศาสตร์ที่เกี่ยวกับศาสนา เพราะเป็นโครงสร้างที่มีเหตุผล ซึ่งเริ่มต้นด้วยอนิยาม จุด เส้น ระนาบในเชิงเรขาคณิต

                      4. คณิตศาสตร์เป็นการศึกษาเกี่ยวกับแบบแผน ที่ว่ามีแบบแผนนั้น หมายความว่าจะต้องคิดอยู่ในแบบแผน หรือความคิดที่ตั้งไว้ เช่น คลื่นวิทยุ โครงสร้างของโมเลกุล ฯลฯ เรื่องต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีแบบแผนของมัน ที่จะจำแนกได้ในทางคณิตศาสตร์

                      5. คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่ง คณิตศาสตร์เป็นศิลปะอย่างหนึ่งเหมือนกับศิลปะแขนงอื่น ๆ ความงามของคณิตศาสตร์ประกอบด้วยความมีระเบียบ และความกลมกลืนที่เกิดขึ้นภายใน

          3.ทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

                 ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ ที่จำเป็นสำหรับเด็กปฐมวัยมี 7 ทักษะ ได้แก่
                   
                      1. ทักษะการสังเกต(Observation)  คือการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ โดยเข้าไปมีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์อย่างมีจุดประสงค์

                      2. ทักษะการจำแนกประเภท(Classifying)  คือ ความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของ โดยหาเกณฑ์หรือสร้างเกณฑ์ในการแบ่งขึ้น  ส่วนใหญ่เด็กจะใช้เกณฑ์ในการจำแนกอยู่ 3 อย่าง คือ ความเหมือน ความแตกต่าง และความสัมพันธ์ร่วม  ซึ่งเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เกณฑ์ 2 อย่าง คือ ความเหมือน และความต่าง

                      3. ทักษะการเปรียบเทียบ(Comparing)  คือ การที่เด็กต้องอาศัยความสัมพันธ์ของวัตถุสิ่งของหรือเหตุการณ์ ตั้งแต่สองสิ่งขึ้นไป บนพื้นฐานของคุณสมบัติที่มีลักษณะเฉพาะอย่าง เช่น เด็กสามารถบอกได้ว่าลูกบอลลูกหนึ่งมีขนาดเล็กกว่าลูกอีกลูกหนึ่ง

                      4. ทักษะการจัดลำดับ(Ordering)  คือ การส่งเสริมให้เด็กได้พัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการจัดลำดับวัตถุสิ่งของ หรือเหตุการณ์ ซึ่งเป็นทักษะการเปรียบขั้นสูง เพราะจะต้องอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งของมากกว่าสองสิ่งหรือสองกลุ่ม

                      5. ทักษะการวัด(Measurement)  คือ เมื่อเด็กมีประสบการณ์เกี่ยวกับการจัดประเภท การเปรียบเทียบ และการจัดลำดับมาแล้ว เด็กจะพัฒนาความสามารถเข้าสู่เรื่องการวัดได้ ความสามารถในการวัดของเด็ก จะมีความสัมพันธ์กับความสามารถใสนการอนุรักษ์(ความคงที่) เช่น เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับความยาวของเชือกได้ว่า เชือกจะมีความยาวเท่าเดิมถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนทิศทางหรือตำแหน่งก็ตาม

                      6. ทักษะการนับ(Counting)  คือ แนวคิดเกี่ยวกับการนับจำนวน ได้แก่ การนับปากเปล่า บอกขนาดของกลุ่มที่มีขนาดเท่ากันโดยไม่ต้องนับ  นับโดยใช้ลำดับที่นับจำนวนเพิ่มขึ้น  นับเพื่อรู้จำนวนที่มีอยู่ การจดตัวเลข  การนับและเข้าใจความหมายของจำนวน  การใช้สัญลักษณ์แทนจำนวน ในเด็กปฐมวัยชอบการนับแบบท่องจำโดยไม่เข้าใจความหมาย

                      7. ทักษะเกี่ยวกับเรื่องรูปทรงและขนาด(Sharp and Size)  คือ เรื่องขนาดและรูปทรงจะเกิดขึ้นกับเด็กโดยง่าย ทั้งนี้เนื่องจากเด็กคุ้นเคยจากการเล่น การจับต้องสิ่งของ ของเล่น หรือวัตถุรูปทรงต่าง ๆ

          4.ประโยชน์ของคณิตศาสตร์

                      1. ในด้านชีวิตประจำวัน เช่น ในครอบครัวก็ใช้ทำงบดุลในครอบครัว, ทำบัญชีรายรับรายจ่าย และในปกติมักจะมีการคำนวณเกี่ยวกับคณิตศาสตร์เช่น ในเกมส์ในกีฬา
                      2. ในด้านวิทยาศาสตร์ วิทยาศาสตร์ช่วยให้นักวิทยาศาสตร์ได้มีรูปแบบในการทดลองและวิเคราะห์ข้อเท็จ จริง นักวิทยาศาสตร์ใช้ประโยชน์คณิตศาสตร์ในการค้นพบสูตรได้อย่างมแม่นยำ และมีการคาดคะเนตั้งสมมุติฐานต่างๆ
                      3. ในด้านอาชีพ และ ธุรกิจต่าง ๆ  คณิตศาสตร์ใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการและจัดการที่เกี่ยวกับการซื้อขาย

วิธีการสอน

  • อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม โดยมีหัวข้อให้ดังนี้ ความหมายของคณิตศาสตร์,ความสำคัญของคณิตศาสตร์,ทักษะการเรียนรู้ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และ ประโยชน์ของคณิตศาสตร์
  • แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอตามหัวข้อที่ได้รับ

การประยุกต์ใช้

  • ได้เข้าใจเกี่ยวกับคณิตศาสตร์มากขึ้น สามารถนำไปใช้ในการเรียน การสอนได้

 บรรยากาศในการเรียน

  • แอร์หนาวและเย็นมาก
  • พื้นที่เวลาทำงานกลุ่ม มันเล็กเกินไป

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์มีความตั้งใจในการสอน พูดเสียงดัง ฟังชัด  มีการแก้ปัญหาได้ดี เนื่องจากอุปกรณ์ในการสอนไม่ครบ






วันศุกร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2558

บันทึกอนุทิน ประจำวันที่ 7 มกราคม 2558

เนื้อหาที่เรียนภายในคาบ (คาบแรก)

          จุดมุ่งหมายรายวิชา

                    1.คุณธรรม จริยธรรม
                    2.ความรู้
                    3.ทักษะทางปัญญา การนำความรู้ที่เรียนมา นำไปใช้ประโยชน์
                    4.ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
                    5.ทักษะทางสังคม ประมวลผล สารสนเทศ
                    6.ทักษะของการจัดการเรียนรู้

             วิชาการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                       

                     การจัดประสบการณ์
  • จัดสภาพแวดล้อมให้เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ได้เรียน
  • จัดกิจกรรมต่าง ๆ โดยการยึดเด็กเป็นศูนย์กลางในการเรียน   
                       
                     คณิตศาสตร์
  • ความหมาย และ ความสำคัญของคณิตศาสตร์
  • แนวคิด และ ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์
  • บวก ลบ คูณ หาร
  • รูปทรง
  • การนับเลข
                     เด็กปฐมวัย
  • ศึกษาพัฒนาการ ในเรื่อง ความแตกต่าง ระหว่างบุคคล และ ความต้องการ
  • เรียนรู้ผ่านการเล่น โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5  คือ                                                                               ตา - ดู
                          หู - ฟัง
                          ลิ้น - ชิมรส
                          จมูก - ดมกลิ่น
                          กาย - สัมผัส    

วิธีการสอน  

  •  ใช้โปรแกรม My Map สื่อออนไลน์ต่าง ๆ 
  •  อาจารย์ให้นักศึกษาระดมความคิด        

ทักษะที่ได้

  •  ได้ความกล้าแสดงออกในการตอบคำถาม
  •  ได้ทักษะทางสังคม ที่ช่วยในการคิด แล้ว ตอบ 
  •  ได้ทักษะกระบวนการคิด

การประยุกต์ใช้

  • สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในชีวติประจำวัน อีกทั้ง ยังสามารถนำความรู้ไปจัดประสบการณ์การสอนคณิตศาสตร์ให้แก่เด็กปฐมวัยได้

บรรยากาศในการเรียน

  • อากาศที่ห้องเย็นมาก เพื่อนๆ มาเรียนกันน้อย มีการช่วยกันตอบคำถาม ระดมความคิด

ประเมินอาจารย์ผู้สอน

  • อาจารย์แต่งตัวสุภาพเรียบร้อยมาก มีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย มีการใช้ My Map เพื่อให้นักศึกษาเห็นถึงความสัมพันธ์